ทลฉ.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ร่วมกับ World Bank เพื่อทบทวนรูปแบบการบริหารจัดการเน้นให้ความสำคัญฯทั้งหน้าและหลังท่า

ที่ ห้อง SRIRACHA GRAND BALLROOM  โรงแรมโอ๊ควูด แอนด์ เรสซิเดนซ์ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์  กรรมการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นประธานการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกับ World Bank พร้อมด้วย เรือโทยุทธนา  โมกขาว   ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง  กรรมการการท่าเรือฯ  ผู้บริหารการท่าเรือฯ ผู้แทน World Bank  ผู้แทนผู้ประกอบการ และพนักงานการท่าเรือฯ เข้าร่วม 

ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์  กรรมการท่าเรือแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง กำลังเดินหน้าเข้าสู่เฟส 3  ส่วนพื้นที่ด้านหลังท่าเรือแหลมฉบังจะมีการพัฒนาหรือจัดโซนนิ่ง อย่างไร เพราะท่าเรือแหลมฉบังไม่ได้ดูแลเรื่องนี้มานาน ดังนั้นจึงได้จัดสัมมนา เพื่อขอความร่วมมือจากธนาคารโลก มาวางแนวทางหรือทิศทางรูปแบบต่างๆของประเทศอื่นๆ ที่มีการพัฒนา ข้างหลังท่ากัน ซึ่งท่าเรือแหลมฉบังต้องการทราบข้อมูลจากการสัมมนาในครั้งนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกๆภาคส่วนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของในพื้นที่  เพื่อที่จะมองได้ว่าในแต่ละพื้นที่ควรที่จะกำหนดเป็นโซนอะไรได้บ้าง เพื่อเกิดประโยชน็สูงสุด ของพนักงานท่าเรือ ,ผู้ส่งออก-นำเข้า ที่จะมาใช้บริการท่าเรือ เช่น ค่าใช้จ่ายต่ำสุด, ระยะเวลาน้อยที่สุดที่เข้ามาใช้บริการ

การสัมนาครั้งนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่สิ่งสำคัญ การท่าเรือแห่งประเทศไทย การท่าเรือแหลมฉบัง  ทุกภาคส่วนต้องมีความเป็นเจ้าของ หากไม่มีสิ่งนี้แล้ว ก็เป็นเพียงทำเอกสาร ,พาวเวอร์พอย เท่านั้น ซึ่งไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ดังนั้นการสัมมนาดังกล่าวก็จะนำรายละเอียดจากทุกภาคส่วนที่มีการพูดคุยกัน จัดทำเป็นเอกสาร เพื่อสรุปในมุมมองของทุกคนให้บอร์ดการท่าเรือแห่งประเทศไทยสามารถรับรองได้

ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง ก็มีศักยภาพ แต่จะต้องย้อนกลับมาดูว่า บางครั้งการเติบโตของท่าเรือ เติบโตเป็นส่วน โดยไม่ได้มองภาพใหญ่ และถึงเวลาที่ผ่านมากว่า 30 ปีแล้ว จะต้องมีการรื้อใหม่รูปแบบใหม่ แต่จะรื้อมาหรือน้อยก็ต้องดูผลของการสัมมนา

ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์  กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง ก็มีศักยภาพ แต่จะต้องย้อนกลับมาดูว่า บางครั้งการเติบโตยังเป็นส่วนๆ โดยไม่ได้มองภาพใหญ่  ผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว คงถึงเวลาแล้วที่ต้องการรื้อใหม่รูปแบบใหม่ แต่จะรื้อมาหรือน้อยก็ต้องดูผลของการสัมมนาวันนี้ 

นอกจากนี้ขณะนี้ทุกๆคนมองที่ศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบัง แต่เรื่องของชุมชนก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมาเชื่อมโยงกับท่าเรือให้ได้ โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องไปด้วยกันได้  แต่ขณะนี้ขอจัดการในส่วนของท่าเรือ ก่อนและค่อยมาคุยกับชุมชนหรือผู้นำท้องถิ่นไปในรูปแบบไหนที่จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ด้านเรือโทยุทธนา  โมกขาว  ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง  กล่าวว่า  ทางท่าเรือแหลมฉบัง ได้จัดสัมมนา รูปแบบเวิร์คช็อป ร่วมกับ World Bank เพื่อเป็นการทบทวนรูปแบบการบริหารจัดการท่าเรือแหลมฉบัง ที่มีมานานแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการทบทวนสิ่งต่างๆที่ผ่านมา จึงได้จัดสัมมนาดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากโลกมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปไกลแล้ว เช่น ระบบโลเจสติกส์  วันนี้จึงเป็นโอกาสได้มาทบทวน จึงเชิญผู้ประกอบการท่าเทียบเรือในแหลมฉบัง ,ผู้เช่าพื้นที่ในเขตท่าเรือแหลมฉบัง ,เจ้าหน้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง และ World Bank มาให้ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลนี้มาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังต่อไปในอนาคต  

“โลกมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก ซึ่งในความเป็นจริง ในเรื่องการขนส่งสินค้าเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ดังนั้นการจัดสัมมนาดังกล่าวเพื่อนำประสบการณ์จากทั่วโลก มาบอกกับท่าเรือแหลมฉบัง ควรจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง  เช่น กรีน เอ็นนิเจีย (Green Technology) โดยเฉพาะประเทศที่มีการพัฒนาแล้วมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพลังงานไปพอสมควรแล้ว แต่ท่าเรือแหลมฉบังเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ท่าเรือแหลมฉบังจะต้องเริ่มพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้ก้าวหน้าไปสู่ กรีน พอร์ต ในอนาคต และที่สำคัญโลกในอนาคตหากธุรกิจใดไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะทำธุรกิจได้ยาก” เรือโทยุทธนา  กล่าว


Copyright (c) 2021 Thaitv24.com All Right Reseved

Copyright © Thaitv24.com | ไทยทีวี 24 Designed by Joelumnamping